Huawei HarmonyOS ระบบแห่งอนาคตกับความหวังเชื่อมทุกอุปกรณ์เข้าด้วยกัน

หลังจาก Huawei เปิดตัวระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ไปในงาน HDC หรือ Huawei Developer Conference 2019 ล่าสุด Huawei ประเทศไทย จัดรอบสำหรับสื่อมวลชนเพื่ออธิบายที่มาที่ไปของ HarmonyOS และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภาพจาก @huaweimobile

James Lu, Senior Manager of EMUI product marketing, Huawei Consumer Business Group เปิดเผยว่า “ในยุคของ Internet of Everything ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS ของหัวเว่ย จะเป็นก้าวใหม่ของโลกเทคโนโลยี ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นทั้งด้านความสามารถในการรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทำให้ใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ การรองรับการทำงานกับแพลตฟอร์มและอุปกรณ์หลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์ ลำโพง ทีวี คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ในรถยนต์ นอกจากนี้ HarmonyOS ยังเพียบพร้อมไปด้วยความสามารถในแง่ของการตอบสนองการใช้งานอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งยังมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคอย่างยิ่งอีกด้วย”

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เรียบง่ายแต่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพสำหรับสมาร์ทดีไวซ์ และเป็น ครั้งแรกของโลกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบกระจาย (Distributed Operating System) ซึ่งการใช้ Microkernel ในการจัดการทรัพยากรระบบนั้น ทำให้สามารถทำงานได้กับทุกอุปกรณ์ อีกทั้งยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รองรับคุณสมบัติอันชาญฉลาด ทั้ง Shared Communications Platform, Distributed Data Management, Distributed Task Scheduling, และ Virtual Peripherals

สถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการแบบ Distributed OS ที่รองรับเทคโนโลยี Distributed Virtual Bus ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ ของแอปพลิเคชันได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเชิงลึก เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันให้เหมาะสมกับอุปกรณ์รุ่นที่แตกต่างกันอีกต่อไป เพราะการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการ HarmonyOS จะสามารถใช้งานกับอุปกรณ์ที่แตกต่างกันได้ อย่างต่อเนื่อง

James Lu, Senior Manager of EMUI product marketing, Huawei Consumer Business Group

เทคโนโลยี Deterministic Latency Engine และ High-Performance Inter Process Communication (IPC) ช่วยให้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS มีการทำงานที่ลื่นไหล ลดอาการหน่วงของแอปพลิเคชันลงได้ถึง 25.7% นอกจากนี้ Microkernel ยังสอดคล้องกับเทคโนโลยี IPC ส่งผลให้ประสิทธิภาพของ IPC สูงกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ ถึง 5 เท่า

HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติแรกที่มีการยืนยันแบบ Formal Verification ซึ่งทำงานบน Trusted Execution Environment (TEE) โดยอาศัยการสร้างโมเดลข้อมูลเพื่อตรวจสอบทุกส่วนของซอฟต์แวร์ และใช้กลไก ทางคณิตศาสตร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของระบบตั้งแต่แหล่งที่มา จึงแตกต่างจากระบบการยืนยันแบบเดิม นอกจากนี้ ยังมีจำนวนบรรทัดโค้ดที่น้อยกว่าระบบปฏิบัติการที่พัฒนาจาก Linuxkernel ถึง 1 ต่อ 1,000 ทำให้ มีช่องโหว่ของระบบน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่น และนับเป็นการยกระดับความปลอดภัยของระบบให้สูงขึ้น

HarmonyOS รองรับระบบ Multi-Device IDE ซึ่งเป็นระบบที่รองรับภาษาคอมพิวเตอร์หลากหลายภาษา และมีสถาปัตยกรรมที่รองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบเฉพาะ ระบบ Multi-device IDE จะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนชุดคำสั่งเพียงครั้งเดียว ก็สามารถนำซอฟต์แวร์ของตนไปใช้งานได้กับทุกอุปกรณ์ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS จึงนับเป็นการยกระดับการทำงานกับอุปกรณ์ที่หลากหลายไปอีกขั้น

Huawei ARK Compiler เป็นคอมไพเลอร์แบบ Static ตัวแรก ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Virtual Machine ของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถรวบรวมโค้ดที่ซับซ้อนมาเพื่อให้ระบบ แปลงเป็นโค้ดที่เรียบง่ายสำหรับการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงเอื้อประโยชน์ให้กับนักพัฒนาเป็นอย่างมาก

“HarmonyOS เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดกว้างให้แก่นักพัฒนาทั่วโลก และจะสร้างมิติใหม่ให้กับการใช้งาน ทุกรูปแบบ โดยผู้บริโภคจะได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่เปี่ยมพลังและไร้รอยต่อตลอดทุกจังหวะของชีวิต ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จะสามารถพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และนักพัฒนาจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากโดยใช้ต้นทุนน้อยลง และยังทำงานได้อย่างรวดเร็ว อีกด้วย” James Lu กล่าว

ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์หัวเว่ย ประเทศไทย

ภาพ : @HuaweiMobile

CK

CK - นามแฝงจากเรื่องใกล้ตัว คอยแบ่งปันเรื่องไอทีผ่านตัวหนังสือที่จะทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย ทั้งข่าว, รีวิวมือถือ หรือจะเป็น How to ก็อยากแชร์ให้ทุกคนได้สัมผัสว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจ ... ขอให้มีความสุขกับทุกบทความบนเว็บไซต์ 'ตามใจด็อทคอม' - www.tarmjai.com ครับ ^^

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *